วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ซื้อจอยสั่นมาใช้ แต่มันไม่สัน ทำอย่างไร มาดูกัน

คือแบบว่าวันนี้ผมไปซื้อจอยสั่นมา ราคา 150 บาท แต่พอแกะมาใช้ เล่นเกมส์ NFS ใช้ได้ปกติ แต่ติดอยู่อย่างหนึ่งครับ คือจอยมันไม่ยอมสั่น ผมก็เลยสงสัย ผมเลยเข้า google และค้นหาคำตอบ ค้นไปค้นมา ผมก็ได้เจอเข้ากับเว็บนึงซึ่งมีคำตอบของผมอยู่ในนั้น นั่นคือเว็บ รวมพลฯ

ในเว็บได้มีการอธิบายไว้ว่า ต้องทำอย่างไหรบ้าง และมีให้โหลด Drivers จอยมาลงที่เครื่องของเราได้เลย



ผมขอยกเอาเน้อหาบางส่วนของเว็บรวมพลฯมาด้วยเลยนะครับผม และผมจะใส่ลิ้งให้ในตอนท้ายนะครับ

วิธีทำให้ PC Joypad ที่พวกเราซื้อมา ซึ่งเป็นแบบสั่น ให้สามารถใช้ฟังชั่นการ สั่น ของมันได้ คงเป็นปัญหากับหลายๆ คนเช่นกัน (เหมือนผมนี่ละ) เพราะโดยปกติแล้ว Joypad ทั่วไปมักจะถูกผลิตมาเพื่อให้เล่นกับ เครื่องเล่นเกมต่างๆ โดยเฉพาะ เช่น X-Box หรือ PlayStation เป็นต้น ส่วนเกมสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ PC และ โน๊ตบุ๊ก นั้นหากจะเล่นเกม คนส่วนใหญ่จะใช้ Mouse กับ KeyBoard เป็นหลัก อยู่แล้ว

ถ้าคุณคิดจะซื้อ Joypad แน่นอนว่า คุณต้องซื้อ Joypad ประเภทที่ใช้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ ( PC Joypad, USB Joypad ) ถ้าซื้อผิดมาละก็ แย่แน่เลยครับ ดังนั้นต้องสังเกตุ พอร์ท USB ให้ดี โดยที่ Joypad นั้นโดยทั่วไปจะมี 2 แบบ คือ แบบธรรมดา กับ แบบที่สั่นได้

แบบธรรมดานี่ไม่ค่อยมีปัญหาสักเท่าไหร่ เพราะเมื่อนำมาเสียบกับ Port USB แล้ว Windows ก็จะทำการตั้งค่า Driver สำหรับจอยให้ทันที พร้อมใช้งานได้เลยครับ ส่วนแบบที่สั่นได้ นี่ละครับตัวปัญหา เพราะมี ผู้ผลิต Joypad หลายยี่ห้อที่ขายเฉพาะ ตัวจอย แต่เค้าไม่ได้แถม Driver Joypad มาให้ ดังนั้นก่อนซื้อ ก็ควรถามทางร้านให้ดีนะครับ ว่า Joypad รุ่นนี้ สั่นได้ หรือไม่ และก็แถมแผ่นติดตั้ง Driver มาหรือไม่ ( เดียวจะเป็นแบบผมนะ ฮ่าๆๆๆ)

ไม่เป็นไรครับ ถ้าเราได้ซื้อ Joypad แบบสั่น มาเรียบร้อยโดยที่ลืมสังเกตว่ามันไม่มีแผ่นติดตั้ง Driver Joy แถมมาด้วยนั้น ทำให้เมื่อเรา นำ Joypad นั้นมาเสียบที่ Port USB ของเครื่องคอมพิวเตอร์ Windows ก็จะติดตั้ง Driver สำหรับควบคุมจอยให้แบบจอย ธรรมดาครับ คือ ไม่สามารถ สั่น ได้ แม้ว่าคุณจะเล่น เกมที่ support ระบบสั่นของ Joypad ( vibration ) ก็ตาม นั่นก็เท่ากับว่า คุณซื้อ Joypad แบบธรรมดามาใช้ ในราคา Joypad แบบสั่น เลยครับ ซึ่งมันไม่คุ้มค่าเลย

ถ้าคิดจะลอง Search หา Driver ของ Joypad แบบสั่น บนอินเตอร์เนตล่ะก็ ลืมไปได้เลยครับ เพราะว่า หายากมาก ผมเองลอง ใช้ Keyword ต่างๆ Search หา มาแล้วครับ ไม่ว่าจะเป็นคำว่า Driver Joypad, PC Joypad แบบสั่น, USB analog joypad driver และ คำอื่นๆอีกมากมายหลายคำ ก็ไม่เจอครับ

และแล้วผมก็ไปเจอ Joypad บางยี่ห้อครับ ที่แถมแผ่น Driver มา ปรากฏว่า Driver Joy ตัวนี้ใช้ได้กับ Joypad แบบสั่น Dual Shock ได้แทบทุกยี่ห้อเลยครับ และก็เป็นโชคดีของคุณแล้วครับ เพราะว่าผม เอาลิ้งมาแปะให้คุณตามไปดาวโหลดที่นี่แล้วครับ

สามารถไปดาวโหลด Driver Joypad แบบสั่นได้ที่นี่.

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

10 ข้อเท็จจริงที่น่าทึ่ง ของไมโครซอฟท์

เบื้องลึกเบื้องหลังของบริษัทซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุด ในโลกที่ล้วนแต่น่าขบขันและน่าสนใจ
            ที่สำคัญคือคุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน!



1. ครั้งแรกของ “Microsoft”


ชื่อ “Microsoft” นั้นถูกใช้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน ปี 1975 ในจดหมายที่ Bill Gates ส่งถึง Paul Allen ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท โดยครั้งแรกนั้นจะเขียนเป็น “Micro-Soft” และอีกหนึ่งปีคือวันที่ 26 พฤศจิกายน ปี 1976 เครื่องหมายการค้านี้ก็ถูกใช้เป็นชื่อบริษัทนับตั้งแ ต่นั้นมา


2. เขตปลอด iPod และ Google
ได้ชื่อว่าเป็นซีอีโอของไมโครซอฟท์ Steve Balmer จึงได้ปลูกฝังลูกๆ ของเขาให้ใช้แต่ผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ โดยตอนหนึ่งของบทสัมภาษณ์กับสถานี CNN เขากล่าวว่า “ลูกๆ ของผมก็เหมือนเด็กทั่วๆ ไป ที่อาจจะไม่ได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดตลอดเวลา แต่สิ่งหนึ่งที่ผมทำสำเร็จก็คือการล้างสมองพวกเขาไม่ ให้ใช้ Google และ iPod”

3. เกมตัวเลข I
ปัจจุบันไมโครซอฟท์จ้างพนักงาน 95,828 คนทั่วโลก โดยพนักงานเหล่านั้นมีอายุเฉลี่ย 37 ปี ในจำนวนนี้เป็นผู้ชาย 74.7 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ไมโครซอฟท์ยังครอบครองอสังหาริมทรัพย์ (ทั่วโลก) ทั้งหมด 88 แห่ง คิดเป็นพื้นที่รวม 1,121,739.83 ตารางเมตร

4. เฉพาะ Mac เท่านั้น
โปรแกรม MS Office เวอร์ชันแรกเปิดตัวเมื่อปี 1989 โดยมีให้เลือกทั้งแบบที่เป็นฟลอบปี้ดิสก์และซีดีรอม และสามารถใช้กับระบบปฏิบัติการ “Mac OS” เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนเวอร์ชันสำหรับวินโดว์สของ Word, Excel, PowerPoint นั้นตามออกมาในปี 1990 (Microsoft Office 3.0)

5. พิเศษเฉพาะวินโดว์ส
เสียงเริ่มต้นของวินโดว์ส 95 นั้นถูกเรียบเรียงขึ้นเป็นพิเศษโดยนักแต่งเพลง Brian Eno และถูกบันทึกด้วยเครื่อง Apple Macintosh ส่วนเสียงที่ใช้ในวิสต้านั้นถูกเรียบเรียงโดย Robert Fripp อดีตมือกีต้าร์แห่งวง King Crimson

6. เกมตัวเลข II
ในแต่ละวัน Microsoft Dining Service ซึ่งเป็นแผนกที่รับผิดชอบเรื่องการดูแลเรื่องอาหารกา รกินให้กับพนักงานในเรดมอนด์จะต้องเตรียมพิซซ่าไว้รอ งรับมากถึง 2,200 ชิ้น และในแต่ละปี พนักงานของไมโครซอฟท์จะบริโภคนม 4 ล้านกล่อง น้ำแร่ 7 ล้านขวด และชาผง 2 ล้านซอง

7. กว่า 12,000 วัน กับไมโครซอฟท์
Bill Gates ทำงานกับตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 1975 จนกระทั่งเกษียณตัวเองไปเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2008 ในบริษัทที่ตัวเองก่อตั้งขึ้น ซึ่งคิดเป็นจำนวนวันทั้งหมด 12,139 วัน (รวมวันหยุดพิเศษและวันหยุดประจำสัปดาห์)

8. ปู่ทวดของวินโดว์ส
ระบบปฏิบัติการตัวแรกของไมโครซอฟท์มีชื่อว่า “Xenix” โดยทายาทของ Unix ตัวนี้ถูกเปิดตัวสู่ตลาดครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 1980 โดย Bill Gates ต้องการที่จะผลักดันให้มันเป็นมาตรฐานของระบบปฏิบัติ การสำหรับพีซี แต่ก็ไม่สำเร็จเพราะ Xenix จำเป็นต้องใช้ฮาร์ดดิสก์และหน่วยความจำในการทำงานถึง 256KB ซึ่งในขณะนั้นเครื่องพีซีจะมีหน่วยความจำสูงสุดแค่ 64KB ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์ก็ยังมีราคาแพงมาก

9. ปุ่ม Save ที่ผิดพลาด
เคยสังเกตไหมว่ามีอะไรผิดปกติกับไอคอน “Save” ในโปรแกรม Office เวอร์ชันก่อนหน้า 2003 ทั้งหมด ... คำตอบคือ ช่องอ่านแผ่นบนแผ่นเหล็กที่เลื่อนไป-มาได้ถูกวางไว้สลับด้านกัน

10. 16 พันล้านชุดข้อมูลบน Excel
ตารางทำงานของ Excel 2007 รองรับข้อมูลได้ถึง 16,000 คอลัมน์ กับอีก 1 ล้านแถว หรือคิดเป็นจำนวนมากถึง 16,000,000,000 ชุดข้อมูลในหนึ่ง
            ตารางเลยทีเดียว
ที่มา
http://fws.cc/zoneitzeed

วิธีการประกอบเครื่องคอมพวเตอร์+พร้อมรูปประกอบ [แจ่ม]

เริ่มแรก!!
   อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ต้องเอามาประกอบ มีอะไรบ้าง!!

จากภาพเลยครับ ที่ต้องมี คือ
   -เมนบอร์ด(แผงวงจรใหญ่ๆมีสล็อตส้มๆเหลืองๆ)พร้อมฝาหลังเคส ฝาหลังวางอยุ่ตรงหลังพัดลมCPU
   -CPU(ชิพสีเงินๆ ใกล้พัดลม)
   -พัดลมระบายความร้อนCPU(จะมาพร้อมCPU)
   -แรม แผงเขียวๆวางติดกัน 2 อัน ในที่นี้เป็น512*2 บัส533
   -ซีดีรอมไดร์ฟ หรือ ดีวีดีไรท์เตอร์ไดร์ฟ (ขวามือ หน้ากากสีดำ ตัวเทาๆ)
   -ฮาร์ดดิกส์ไดร์ฟ (วางอยุ่บนดีวีดีไรท์เตอร์ไดร์ฟ)
   -สายสัญญาณ SATA ตามจำนวนฮาร์ดดิกส์ ในที่นี้ มี2เส้น เพราะHDDและ DVD-RW drive ใช้สายSATAครับ แต่ถ้าHDDหรือ ไดร์ฟDVDเป็นสายแบบ IDE ก็ต้องสายแบบIDEนะครับ(ยกเว้นใช้ตัวแปลงSATA>>IDE)
   -น็อตสกรู น็อตทองที่ใช้ยึดรองเมนบอร์ด แผ่นแหวนรองน็อตสีแดงๆ น็อตนี้ จะได้มาเยอะพอสมควร โดยจะได้มาจากเคส
   -อีกอย่าง นอกภาพ คือ เคส-เพาเวอร์ซัพพลาย
   !!ถ้าเคสจำพวก Full tower มี่ยี่ห้อ เช่นraidmax หรือ cooler master/Thermaltake ไรพวกนี้ มักจะไม่มีเพาเวอร์มาให้ เพราะออกแบบมาใช้กับคอมระดับ advance ที่ใช้พลังงานสูง โดยเราต้องเลือกซื้อเพาเวอร์มาใช้เอง
   !!ถ้าเคสที่ซื้อ มีเพาเวอร์อยุ่แล้ว สามารถซื้อเพาเวอร์มาเปลี่ยนแทนได้ครับ โดยเพาเวอร์เกรดต่ำ(แบบเดียวกับที่แถมเคสระดับไม่ถึงพัน)ประมาณ3-5ร้อย วัตต์ไฟที่จ่ายได้จะไม่เต็ม เช่นของdtech แบบธรรมดา ของP&A และยี่ห้ออื่นๆเช่นFRND และเกรดกลางๆ(แบบเดียวกับที่แถมเคสระดับพันต้นๆถึง2พัน)ประมาณ6-7ร้อยบาท เช่นของdeluxe แบบธรรมดา ของdtechแบบอย่างดี และระดับสูง ราคาพันว่าขึ้นไป ส่วนใหญ่จะ1500-2000+ครับ เช่นEnemax Thermaltake Enchance Silverstone ครับ แบบหลังเหมาะกับ system ที่ต้องการความสเถียร หรืออุปกรณ์เยอะๆเช่น HDD-กาณืดจอหลายตัว
   ต่อมา มาดูเครื่องมือที่ใช้กันบ้าง จากภาพเลยครับ

-ไขควงหัวแฉก คือ อันด้ามแดงครับ (ต้องมี!)
   -ไขควงแบน คือ อันด้ามเขียว (มีก็ได้!)
   -ชุดไขควงเล็ก 5 ตัว (ไม่/ไม่มีก็ได้)
   -คีมปากจิ้งจก อันสีส้มๆ (ต้องมี)
   -คีมตัด อันสีน้ำเงินครับ (ไม่จำเป็น แต่ถ้ามีการใช้เข็มขัดรัดสายจะดีกว่ากรรไกร-คัตเตอร์ตัด)
   -เข็มขัดรัดสาย ห่อขาวๆ ไม่จำเป็นต้องซื้อมาเยอะขนาดนี้ครับ หาซื้อจากร้านอิเล็กได้ทั่วไป เค้ามีแบ่งขาย
   -ซิลิโคน อันนี้แบบธรรมดา หรือจะใช้แบบดีๆก็จะแพงขึ้น เช่นMX-1 Arctic silver ครับ ถ้าไม่OC แบบธรรมดาก็ok แล้วครับ
   -บัตรเติมเงิน(พลาสติก)นะครับ บัตรพลาสติก ที่เติมเงินเกมส์ออนไลน์ หรือโทรศัพท์ก็ได้ หรือพวกบัตรเครดิตที่ใช้ไม่ได้แล้ว เอามาปาดซิลิโคนให้บางเป็นหน้าเดียวกัน!
   -คัตเตอร์(ไม่ได้มีความจำเป็น เหมาะกับใช้เวลาตัดกรีดห่ออุปกรณ์คอมที่เราแกะกล่องมา)
   เริ่มประกอบกันดีกว่า
   ยกเคสมาครับ
   -เปิดฝาเคส ออกทั้ง 2 ด้าน เพื่อให้ง่ายต่อการประกอบ
   tip*ถ้าเคสเป็นน็อตหัวมือหมุน จะง่ายมากครับ

-ต่อมา ตรงแถวหลังเคส จะมีฝาหลัง ติดมาอยุ่แล้วนะครับ ให้เรา เอาออกไป โดยอาจจะเป็นน็อตยึดอยุ่ หรือเป็นแบบที่ เราต้องงอไปงอมาให้มันขาดเอง แล้วแต่เคสครับ
   -เรียบร้อยแล้ว ให้ท่านนำ ฝาหลัง ที่มากับเมนบอร์ด มาติดตั้งครับ โดยเกือบทุกรุ่น-ยี่ห้อ ท่านจะต้องดันจากด้านในครับ ใส่ให้ถูกหัวนะครับ ปกติ รูที่เหมือนช่องเสียบลำโพง จะอยู่ช่วงล่างและช่องเสียบเมาส์จะอยู่บนใกล้เพาเวอร์(เคสที่มีเพาเวอร์ด้านบนตามมาตราฐาน)

ต่อมา ให้ท่านลองเอาเมนบอร์ด มาวางดู รูน็อตบนเคสครับ แล้วใส่ตัวน็อตยึดเมนบอร์ดลงไป (ท่านอาจจะไม่ใส่ครบ แต่ใส่อย่างน้อย 4 มุม)

__________________
ต่อมา
      มาใส่CPUกันครับ โดยการใส่ที่สะดวก คือใส่ซีพียูก่อนลงเคสครับ CPUจะมีสล็อตเฉพาะตัว เอามาใส่กันไม่ได้ เช่น754ใส่939ไม่ได้ AM2ใส่775ไม่ได้
      อันนี้ ของAMD socket AM2 /754-939ก็เหมือนกันนะครับ
      -เริ่มจาก เอาก้านล็อคขึ้นก่อน
      -ใส่ซีพียูลงไปครับ โดยให้ด้าน ลูกศรสีทอง ตรงกับสัญลักษณ์ลูกศรบนsocketครับ
      !!อย่าพยายาม กดCPUลงไป เพราะขาจะบิ่นงอครับ และอาจหักได้(หมดประกันนะเออ!)ให้ค่อยๆใส่ลงไปครับ ถ้ากดไม่ลง ลองหันด้านอื่นดู ถ้าใส่ถูกต้อง CPUจะลงไปสุดทุกด้าน และจะไม่ต้องออกแรงมากมายกดCPUลง ดังรูป
-ต่อมา ใส่ซิลิโคนครับ แต่ๆ ถ้าท่านซื้อCPUมาใหม่เอี่ยม ที่ฮีทซิงค์พัดลม จะมีติดมาแล้ว(สีเทาๆ)แต่ถ้าจะใช้ซิลิโคนดีๆ ก็ขูดของที่แถมมาและเช็ดออกให้หมดครับ จากภาพ หยดลงนิดเดียว -แล้วเอาการ์ดพลาสติก ที่บอกไว้ตอนแรก มาปาดให้ทั่วครับ ถ้าปาดไม่มั่ว ก็เพิ่มทีละนิดครับ
      ปาดแล้วจะได้ประมาณนี้
-ต่อมา ใส่พัดลมCPUลงไป เกี่ยวล็อคด้วยครับ ตามภาพ -แล้วกด ก้านล็อค มาอีกด้านนึง อาจจะต้องออกแรงนิดนึง พอกดถึงอีกด้านสุดแล้วก็พอครับ -แล้วมาเสียบสายไฟครับ พัดลมใหม่ๆจะเป็นพัดลมที่ควบคุมด้วยสัญญาณพัลล์(PWM)คือมี 4 เส้น ครับความเร็วรอบจะแปรผันตามงานของCPUและอุณหภูมิ tip*เพื่อให้ดูเรียบร้อย ท่านสามารถ เหน็บสายไฟตามตัวเก้บประจุต่างๆแถวซ็อกเก็ตได้ครับ ไม่ต้องกลัวร้อนละลายครับ บอร์ดบางตัวเช่นM2N-E จะเก็บได้สวยครับ
      เอาละ มาของIntelบ้างดีกว่า
      พัดลมของintelนั้น จะเป็นแบบซิ้งค์กลมไปกับใบพัดลมเลย และใช้ขาล็อคยึดลงแผ่นบอร์ดเลยตรงๆ ซึ่งจะไม่มีขาล็อคที่บอร์ดครับและตัวCPUปัจจุบันของintelเป็นแบบLGA775
      (LGA=Land grid array)ซึ่งขาสัมผัสจะอยู่ที่บอร์ดแทน...ระวังอย่าให้มันงอเชียว ดัดยาก หักง่าย
      -เริ่มจาก กดสลักลง ดันออกข้าง มันจะดีดขึ้นมาได้(ไม่ต้องกลัวมันดีดไม่เจ็บ) แล้วยกขึ้น ดังภาพ
-แล้วโยกมาสุดเลยครับ เสร็จแล้ว เปิดฝาครอบขึ้นจะได้ดังภาพ -เปิดเรียบร้อย!! -แล้ว วางCPUลงไปให้ลงล็อคครับ จะมีร่องอยู่ที่CPU ถ้าวางถูกต้อง จะลงไปพอดีเลยไม่มีเกยออกมา -เสร็จแล้ว ปิดครอบลงครับ -ต่อมา กดก้านล็อคกับลงมา
      !!ถ้าท่านกดก้านล็อค แล้วติดตัวครอบ ให้เช็คดูว่าCPUเกยsocketออกมาหรือไม่ครับ ถ้าCPUใส่ไม่ลงสนิทและท่านฝืนกด CPUและsocketอาจแตกเสียหายได้(หลุดประกันทันที!)
-ใส่เรียบร้อย!! -ติดตั้งซิลิโคนครับปาดให้เรียบ
      เหมือนการติดตั้งของ AMDเลย อันนี้ผมใส่ที่ตัวพัดลมครับ เพราะพื้นที่ที่ซิลิโคนได้แปะจริงๆก็เป็นวงกลมแค่บนพัดลมนั่นและ...
-อ้อ ก่อนใส่ ตรวจดูที่ขาพัดลม ปลายลูกศรจะหันออกข้างนอกครับ ไม่หันเข้าซิ้งค์นะครับ -สุดท้ายยย ใส่มันลงไป ใช้นิ้วเนี่ยแหละ กดลงไปดัง"กริ้ก" ก็เสร็จแล้ว ตามภาพ...
      แรมที่ผมนำมาใช้นี้ เป็นแบบ DDR2 (DDR=Double-Data-Rate Synchronous Dynamic Random) เป็นบัส 533 แต่ปัจจุบันต้อง 667นะครับอย่างต่ำ อันนี้คอว่ามันใกล้มือดี เอามาเป็นนายแบบก่อน ผมแนะนำว่า ใส่ยอกเคสดีกว่าครับ
-การใส่แรม ทั้งSD-DDR-DDR2-DDR3 ต้องหันให้ถูกด้านด้วยครับ โดยจะมีร่องกันใส่ผิดเอาไว้ มีบางท่าน ใส่ในเคส แต่ทว่า ด้วยความมองไม่เห็น ก็ยัดๆลงไปผิดด้าน ทั้งๆที่ไม่ลง ทำให้เปิดเครื่องแล้วก็มีควันออกมา ทำให้แรมเสียหาย หรือบอร์ดอาจตามด้วย
      การใส่ดูจากภาพเลยครับ
      ถูก
ผิด -ถ้าติดตั้งถูกด้าน ร่อมบนสล็อตและแรมจะตรงกัน ก็เอามือกดลงไปตรงๆครับ แล้วก้านล็อคข้างๆจะเด้งเข้ามาเอง แต่ให้แน่ใจ ใช้นิ้วกดให้เข้าล็อคหน่อยดีกว่าครับ -มีกี่แถว ก็ทำเหมือนๆกันหมด

__________________
ต่อมา มาติดตั้งเมนบอร์ด ที่ประกอบCPU Ramเสร็จแล้ว ลงไปในเคสกัน
            อย่างที่เห็นครับ เราเตรียมไว้แล้ววว ทั้งน็อตรองบอร์ด/ฝาหลัง
            -นำบอร์ด วางลงไปเลย...
-ตามด้วย ไขน็อตให้เรียบร้อย
            !!น็อตรองบอร์ดที่เราใส่ลงไปตอนแรก มี 2 แบบเกลียวนะครับ ถ้าใส่ลงไปแล้วดันลงไปได้แบบไม่ต้องไข หรือ พยายามไขไม่ลง ให้ลองเปลี่ยนน็อตตัวผู้ที่เอามาใช้ดูนะครับ
!!ถ้าท่านฝืนไขลงไป จะเกิดปัญหาคือ..น็อตจะลงไม่ตรงครับและอาจจะไปกดบอร์ดให้งอจนหักได้(อันตรายๆ) จะไขน็อตไม่ออก และเมื่อไขแล้ว เกลียวน็อตจะหักคา หรือจะทำให้ตัวรองบอร์ดหมุนดันบอร์ดให้โก่งงอ
            -เมื่อไขน็อตเสร็จแล้ว มาเพ่งกันที่คอนเน็กเตอร์ที่มุมล่างของบอร์ด มันคือ front panel connector หรือ จุดเชื่อมต่อปุ่มต่างๆและไฟสถานะ!
ซึ่งพอร์ทส่วนใหญ่ ที่เราจะต่อไปหน้าเคส มักจะเป็น
            -Power LED สถานะสีเขียวหรือฟ้าบอกการทำงานเครื่อง ว่าเปิด /stanby
            -HDD LED สถานะสีส้มหรือแดง บอกการอ่านเขียนของฮาร์ดดิกส์/ไดร์ฟต่างๆครับ(แล้วแต่เมนบอร์ด)
            -power switch ไม่เสียบไม่ได้!
            -reset ใช้รีเครื่อง...
            -USB ใช้พอร์ทUSBผ่านหน้าเครื่อง
            -eSata มไม่ค่อยมีนักครับ ส่วนใหญ่จะเคสแพงๆ และไม่ค่อยได้ใช้กันด้วย
            -audio mic อันนี้หลายคนใช้ครับ
-งานนี้ ควรใช้คู่มือของเมนบอร์ด ช่วยนะครับ เพราะว่าส่วนมาก บนเมนบอร์ดจะไม่บอกรายละเอียดมานัก เช่นPower LED ไม่บอก+ - เป็นต้น
            -บางครั้ง สวิตช์เปิดปิด(Power SW)/รีเซ็ท(Reset SW)บอกขั้ว+ - ในเมนบอร์ด ไม่ต้องสนใจครับ เสียบๆไปเถอะ
-ถ้าท่านใช้ซาวด์ออนบอร์ด และใช้หูฟัง เสียบลงไปที่เมนบอร์ดด้วยครับ ปกติจะเป็น FP_Audioครับ
            Tip*บางครั้ง มีหัวเสียบแบบ HD และแบบAC97มาให้ ดูก่อนครับ ว่าเราใช้ซาวด์แบบไหน แต่ปัจจุบัน ของC-media/realtek จะเป็น HD ครับ แต่ถ้าไม่ใช้คุณสมบัติ HD โดยปิดในไบออสเป็นAC97ก็เสียบAC97นะครับ
-ในบางกรณี หัวเสียบของเคส ไม่สามารถเสียบลงบนเมนบอร์ดได้แบบปกติ... เช่น หัวไม่ตรงกัน จะทำอย่างไรดี..............ให้ท่านหา เข็มหมุดมา 1 อันครับ นำมายัดเข้าไปตรงล็อคของสายสัญญาณ งัดขึ้น แล้วดึงสายออกครับ อย่างัดมากนะครับ เดี๋ยวจะหักเอา -หัวสายที่ถอด... -สายหน้าเคสเสร็จ มาปวดกัวกับสายUSBกันต่อ!
            -การเรียงสาย ตามนี้เลยครับ
-เมื่อเสียบเรียบร้อยแล้ว... ต่อมา ใส่ไดร์ฟต่างๆ เสียบสายสัญญาณและสายไฟกัน
            -ใส่HDD และ DVDRwเข้าไป ใส่น็อตให้เรียบร้อยครับ ควรใส่ทั้ง 2 ด้านของไดร์ฟเลย
-ต่อมา เก็บสายSATA ที่เสียบกับHDDครับ
            มี 2 แบบคือ
            1 มัดเกรียวกับไขควงหัวแฉก
2 อ้อมไปหลังหน้าเครื่อง ออกอีกด้านก็ได้ -ถ้าใช้สายIDE ก็ตั้ง jumper และเสียบสายให้ถูกด้วยครับ
            จากภาพ
            -ซ้ายสุดที่มีจัมเปอร์อยู่ คือ cable select จะทำงานโดยกำหนดตำแหน่งไดร์ฟตามายที่เราเสียบให้มัน(ไม่แนะนำให้ตั้งเหมือนกัน 2 ตัวถ้าเสียบไดร์ฟ 2 ตัวนั้นบนสายเดียวกัน)
            -กลางคือ Slave เป้นตำแหน่งไดร์ฟตัวรอง(Device1)เสียบกับกลางสายIDE
            -ขวาสุด คือ Master เป็นตำแหน่งตัวหลักบนสายนั้น(Device0)เสียบปลายสายIDE
-สายIDEอันไหน ตำแหน่งไหน ดูเลย!! -เสร็จแล้ว ต่อสายเพาเวอร์ลงบอร์ดครับ เมนบอร์ดปัจจุบันนี้ จะเอา 2 ชุดคือ ชุดแรก หัวเพาเวอร์หลัก มี20พิน หรือATX2.0จะมี 24พิณครับ และอีกหัว คือหัว4พิณ เป็นไฟCPUบางบอร์ดมีเป็น8พิณ ไม่ต้องกลัว เสียบไปแค่4ก็"ด้ครับ ถ้าเพาเวอร์มีแค่4 และบอร์ดบางอัน เช่นเมนบอร์ดSLI ที่ใส่การ์ดจอของNvidia มากว่า1ตัว หรือบอร์ดCrossfire ที่ใส่การ์ดจอ ATiมากกว่า1 (บางบอร์ด)จะมีหัวMolex 4พิณ ด้วยครับ เสียบด้วย แตไม่เสียบก็ไม่เป็นไร แต่ตามผู้ผลิตแนะนำ ถ้าใช้การ์ดจอมากกว่า 1 ควรเสียบด้วย -และก็ต่อสายไฟของ HDD และ DVDRWด้วย รวมถึงสายไฟพัดลมของเคส -และเก็บสายไฟให้เรียบร้อยครับ (ยังไม่จำเป้นตอนนี้ แต่เมื่อท่านเอาเครื่องไปลองเสียบปลั้ก เปิดได้สมบูรณ์แล้ว ค่อยเก็บก็ได้ จะได้ไม่เสียเวลามานั่งรื้อถ้ามีปัญหา...) และแล้วก็.............ก็.........ก็เสร็จแล้วครับ กับเครื่องที่เรานั่งประกอบกันอย่างสนุกสนาน(รึเปล่า) ต่อไปก็ลองเสียบจอ-เมาส์-คีย์บอร์ด-ลำโพง และเปิดเทสดูครับ

__________________
ที่มา - overclockzone